Uncategorized

วิธีป้องกันโรคภูมิแพ้ ทำได้ด้วยตัวเอง

วิธีป้องกันโรคภูมิแพ้ ทำได้ด้วยตัวเอง

ใครหลายคนต้องรู้จักโรคภูมิแพ้เป็นอย่างดี ซึ่งเป็นโรคที่สามารถพบได้โดยทั่วไป ส่วนใหญ่ไม่อันตรายมากนักสามารถมีอาการและหายได้เองตามธรรมชาติเหมือนไข้หวัด แต่จะไม่หายไปจากผู้ป่วยโดยถาวร เพราะในเมื่อป่วยเป็นโรคนี้แล้วนั้น จะเป็นอยู่ตลอดเมื่อมีสารกระตุ้นก่อให้เกิดภูมิแพ้ชนิดต่างๆ

โรคภูมิแพ้คืออะไรเป็นโรคที่เกิดจากการตอบสนองของร่างกาย ที่มีต่อสารกระตุ้นในภาวะปกติ จะแสดงอาการออกมาให้เห็นอย่างชัดเจน ส่วนใหญ่จะไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย โดยมีสารกระตุ้นให้เกิดภูมิแพ้อย่างเช่น ไรฝุ่น ละอองเกสรดอกไม้ สารเคมี ควันบุหรี่ น้ำหอม เป็นต้น

หากในผู้ป่วยบางรายที่ได้รับสารกระตุ้น ร่างกายจะเกิดการตอบสนองอย่างมากผิดปกติรุนแรง ทำให้เกิดการอักเสบในอวัยวะที่สัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้นั้น กลุ่มผู้ป่วยที่เป็นภูมิแพ้ทางจมูกหรือระบบทางเดินหายใจ เมื่อหายใจเอาสิ่งแปลกปลอมเข้าไปทางจมูก สารก่อภูมิแพ้จะไปสัมผัสกับเยื่อบุโพรงจมูกแล้วทำให้เกิดการอักเสบในโพรงจมูก เกิดอาการ คัดจมูก จามรุนแรง มีน้ำมูกใสๆ คันจมูก ถ้าหากมีภาวะป่วยเป็นหอบหืดร่วมด้วย ก็จะมีอาการที่รุนแรงมากขึ้นอีก ทำให้เกิดการอักเสบของหลอดลม มีการหดเกร็ง จนเกิดอาการของหลอดลมตีบขึ้นได้

ในผู้ป่วยภูมิแพ้ชนิดต่างๆ มีระยะเวลาในการแสดงอาการที่แตกต่างกันออกไป หลังการรับสารกระตุ้นให้ก่อภูมิแพ้ อาจใช้เวลาก่อนเกิดอาการเป็นนาทีหรือเป็นชั่วโมงก็ได้ ในผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิแพ้มักเกิดการตอบสนองไวกว่าปกติ ต่อสิ่งกระตุ้นหรือสภาพแวดล้อมโดยรอบเช่น ความเย็น ความร้อน ความกดอากาศต่ำ หรือฝน ความชื้น ซึ่งภาวะนี้อาจอยู่นานเป็นวันหรือเป็นเดือนก็ได้และสามารถก่อให้เกิดอาการได้โดยไม่จำเป็นต้องสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้เลย

จึงทำให้ผู้ป่วยภูมิแพ้ควรจะระมัดระวัง ในเรื่องของการรับประทาน การอยู่ในพื้นที่ต่างๆ หรือแม้แต่การสัมผัสสิ่งต่างๆ ที่อาจส่งผลไปกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ได้ การดำเนินชีวิตอาจจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยให้มากขึ้น เพื่อไม่ให้สารก่อภูมิแพ้ทำให้เกิดอาการแพ้ที่จะแสดงออกมา จนเกิดเป็นปัญหาในการดำเนินชีวิต

เราสามารถแบ่งชนิดของภูมิแพ้ได้ 4 กลุ่ม พร้อมกับวิธีการป้องกันและดูแลตัวเองเบื้องต้น ทำไดด้วยตัวเองง่ายๆ เพื่อไม่ให้อาการแพ้กำเริบขึ้นอีกดังนี้

โรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจ

  1. หลีกเหลี่ยงพื้นที่ฝุ่นละอองสะสม พื้นที่แคบฝุ่นเยอะ
  2. ไม่คลุกคลีกับสัตว์เลี้ยงมากเกินไป ไม่หายใจใกล้กับขนสัตว์
  3. ไม่ยืนอยู่สถานที่ริมถนน มีหมอกควันพิษ สารเคมีเยอะ
  4. การดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงสมบูรณ์ ไม่เจ็บป่วยบ่อยครั้ง
  5. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และถูกสุขลักษณะ ไม่ทานอาหารค้างคืน อาหารไมโครเวฟบ่อยๆ
  6. หมั่นออกกำลังกายอย่างเหมาะสมต่อสภาพร่างกาย ทำอย่างสม่ำเสมอ และหมั่นตรวจเช็คสุขภาพประจำปี

ทำความเข้าใจก่อนว่าโรคภูมิแพ้เป็นโรคไม่สามารถติดต่อกันได้ และจะเกิดกับผู้ที่ร่างกายแพ้ต่อสารก่อภูมิแพ้เท่านั้น จึงทำให้การป้องกันส่วนใหญ่ เป็นวิธีการสำหรับผู้ป่วยที่จะป้องกันไม่ให้เกิดอาการแพ้ หรือไม่ให้อาการแพ้นั้นกำเริบรุนแรงกว่าปกตินั่นเอง

โรคภูมิแพ้ทางผิวหนัง

  1. กำหนดเวลาอาบน้ำเพียง 10-15 นาที เพื่อไม่ให้ผิวแห้งจนเกินไป
  2. เลือกใช้สบู่หรือครีมอาบน้ำที่อ่อนโยนต่อผิว ไม่ระคายเคือง
  3. ใช้ครีมหรือสารเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิว เช่น ปิโตรเลียมเจล วันละ 1 ครั้ง
  4.  ห้ามถูหรือขัดผิวหนังแรงๆ ด้วยมือหรือวัสดุขัดผิดที่หยาบมาก
  5.  หลังอาบน้ำต้องเช็ดตัวให้แห้ง โดยใช้ผ้าขนหนูซับเบาๆ บนผิว

ในกลุ่มเด็กทารกมีความเสี่ยงที่จะป่วยเป็นภูมิแพ้ผิวหนังมากกว่ากลุ่มอื่นๆ จึงควรให้เด็กแรกเกิดดื่มนมแม่ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง มีภูมิคุ้มกัน เพราะเด็กที่บริโภคนมแม่ อาจเสี่ยงเป็นโรคนี้น้อยลง แต่หากไม่สามารถดื่มนมแม่ได้ ควรให้เด็กบริโภคนมผงที่มีโปรตีนนมวัวทดแทน เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการเกิดโรค

โรคภูมิแพ้ทางตา

  1. หมั่นล้างมือด้วยน้ำอุ่นและสบู่ล้างมือเป็นประจำ
  2. ต้องล้างมือก่อนการหยอดยาหรือทาขี้ผึ้งทุกครั้ง
  3. หลีกเลี่ยงปัจจัยที่ก่อให้เกิดการแพ้เช่น ฝุ่น ควัน สารเคมี เกสรดอกไม้ ขนสัตว์
  4. ควรซักอุปกรณ์ที่นอนบ่อยๆ ผ้าห่ม ผ้าปูที่นอน ปลอกหมอนด้วยน้ำร้อนและผงซักฟอกเพื่อลดไรฝุ่น
  5. ทำความสะอาดบ้านอยู่เสมอ ใช้เครื่องกรองอากาศภายในบ้านหรือสำนักงาน
  6.  หลีกเลี่ยงการใช้น้ำหอมกลิ่นฉุน สารเคมี หรือการย้อมสี

เพราะฝุ่นที่มองไม่เห็นสามารถเข้าสู่ดวงตาได้ตลอดเวลา ทำให้เกิดการระคายเคือง ไปจนถึงเยื่อบุตาอักเสบได้ จึงต้องหมั่นทำความสะอาดไม่ให้ฝุ่นละอองมากกว่าปกติ ล้างแอร์ ทำความสะอาดบ้านและที่นอนอยู่เสมอ

โรคภูมิแพ้ชนิดรุนแรง

  1. หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ทุกชนิด ฝุ่นละออง ควันรถ ควันบุหรี่ น้ำหอม เกสรดอกไม้ ขนสัตว์
  2. ควรเลือกรับประทานอาหารที่ไม่ก่อให้เกิดการแพ้ ไม่มีสารกระตุ้นให้แพ้ อย่างเช่น อาหารทะเล กุ้ง หอย ปู
  3. อาหารแปรรูป อาหารแห้งบางชนิดก็ต้องควรระวัง เลือกรับประทานให้เหมาะสมกับสภาพร่างกาย
  4. ผู้ที่แพ้ฝุ่นควรหลีกเลี่ยงการเดินทางบนท้องถนนที่มีฝุ่นควัน ไม่ยืนริมถนนบ่อยครั้ง
  5. หลีกเลี่ยงการเดินผ่านเขตบริเวณที่มีการก่อสร้าง ห้องที่อับ ฝุ่นสะสมจำนวนมาก
  6. ดูแลรักษาความสะอาดภายในบ้านและห้องนอน ให้มีอากาศถ่ายเทสะดวก แสงแดดเข้าถึง เพื่อป้องกันการสะสมฝุ่นและไรฝุ่นที่จะก่อให้เกิดอาการแพ้ได้