Uncategorized

โรค ไข้หวัด ที่มีอันตรายถึงเสียชีวิตมีกี่ประเภท

โรค “ไข้หวัด” ที่มีอันตรายถึงเสียชีวิตมีกี่ประเภท ?

ใครหลายคนก็ต้องเคยเป็นโรค “ไข้หวัด” อย่างแน่นอน แต่อยู่ที่ว่าจะเป็นโรคไข้หวัดประเภทไหน และมีความรุนแรงต่อร่างกายมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตมากน้อยเพียงใด ในช่วงวัยเด็กที่เป็นช่วงทีมีภูมิต้านทานของร่างกายต่ำนั้น เด็กทุกคนมีโอกาสเสี่ยงที่จะป่วยเป็นโรค “ไข้หวัด” มากกว่าช่วงที่เติบโตในวัยของผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ทำให้โรคหวัดไม่ใช่โรคที่ควรมองข้าม แต่ต้องระมัดระวังร่างกายให้มาก ไม่ให้ได้รับเชื้อไข้หวัดได้ง่าย

โรคไข้หวัดนั้นเป็นโรคที่เกิดการจากติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนต้น อย่าง จมูก โพรงจมูก จนอาจลามไปสู่ลำคอได้เลยหากมีการติดเชื้อสะสมเป็นเวลานาน แต่หลายคนก็คิดว่าไข้หวัดนั้นไม่เป็นอันตรายมากนัก แค่กินยา นอนพักผ่อนก็สามารถหายได้ นั่นเป็นเพียงความเข้าใจที่ไม่ผิดซะทีเดียว แต่ว่าโรค“ไข้หวัด” นั้นมีอยู่ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ “ไข้หวัด” ธรรมดาและ “ไข้หวัด” ใหญ่ ซึ่งมีความแตกต่างกันที่ว่า ใน“ไข้หวัด”ธรรมดานั้นสามารถ กินยา นอนพักรักษาตัวและหายได้เองตามความแข็งแรงของร่างกาย แต่หากเป็น “ไข้หวัด” ใหญ่นั้น มีความรุนแรงมากกว่า และมีโอกาสที่จะเกิดภาวะของโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมาได้ง่ายอีกด้วย

คำถามคือว่าแล้วทำไม “ไข้หวัด” ใหญ่ถึงมีอันตรายมากล่ะ สาเหตุของโรค “ไข้หวัด” ใหญ่นั้น เกิดจากการติดเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza Virus) ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่มีหลากหลายชนิด และสามารถแตกแยก ขยายสายพันธุ์ออกไปได้มากมาย ทำให้ผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัส “ไข้หวัด” ใหญ่ ชนิดนี้มีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ในขณะที่ป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ ถ้าหากในกลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้วเช่น โรคภูมิแพ้ โรคที่เกี่ยวเนื่องกับระบบทางเดินหายใจ ก็จะยิ่งทำให้มีความเสี่ยงที่เชื้อจะลงไปสู่ปอดและเป็นอันตรายต่อชีวิตได้

จากผลสำรวจสถิติข้อมูลประชากรทั่วโลก ในแต่ละปีจะมีผู้เสียชีวิตจากโรค “ไข้หวัด” ใหญ่ถึงปีละ 250,000 – 500,000 คน ถือว่าเป็นตัวเลขที่เยอะพอสมควรในอันดับของโรคที่เป็นกันโดยทั่วไป ในขณะที่ประเทศไทยมีผู้ป่วยเป็นโรค “ไข้หวัด” ใหญ่ต่อปีประมาณ 1,000 ถึง 2,000 คนต่อประชากร 100,000 คน เป็นตัวเลขที่เพิ่มจำนวนมากยิ่งขึ้น ไม่ลดลง นี่เป็นเพียงตัวเลขของโรค“ไข้หวัด” เท่านั้น ยังไม่รวม ผู้ป่วย “ไข้หวัด” ธรรมดาทั่วไป ที่เป็นและหายเองได้ จึงทำให้ทุกคนต้องหันมาเข้าใจและป้องกันเชื้อไวรัส “ไข้หวัด” ใหญ่ให้มากยิ่งขึ้น

ทุกคนต้องทำความเข้าใจว่าโรค “ไข้หวัด” นั้นมีหลายสายพันธุ์ ขึ้นอยู่กับเชื้อไวรัสประเภทนั้น ที่มีการแพร่กระจายเชื้อให้ติดต่อกันจากสัตว์สู่คน หรือ คนสู่คน แพร่กระจายเชื้อ “ไข้หวัด” อย่างรวดเร็วและขยายวงกว้าง ทำให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อมากขึ้นทุกวัน จนเกิดการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไวรัสได้ยากและกลายเป็นโรคระบาดในที่สุด

จากที่กล่าวมาข้างต้น น่าจะพอเข้าใจว่าโรค “ไข้หวัด” มีผลอันตรายถึงชีวิตได้เลย ขึ้นอยู่กับเชื้อไวรัสที่มีความรุนแรงหรือแพร่กระจายได้รวดเร็วมากแค่ไหน เราจึงสามารถแบ่งโรค “ไข้หวัด” ออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ให้เห็นภาพชัดเจนและเข้าใจว่า ไข้หวัดธรรมดาที่เราเข้าใจนั้น ทำไมถึงทำให้มีผลข้างเคียงต่อชีวิตได้

โรค“ไข้หวัด” ใหญ่แปลเปลี่ยนตามสภาพอากาศ

ถ้าพูดให้เข้าใจง่ายๆ คือโรค“ไข้หวัด” ตามฤดูกาลนั้นเอง ในประเทศไทยนั้นมีแค่ ฤดูร้อน ฤดูหนาว ฤดูฝน ซึ่งเชื้อไวรัส “ไข้หวัด” นั้นจะแพร่กระจายเชื้อโรคได้ดีที่สุดในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว เพราะว่าช่วงฝนจะเป็นช่วงที่อากาศชื้นสูง เชื้อไวรัสจะชอบความชื้นและแพร่กระจายได้รวดเร็ว จากการสัมผัสติดต่อกับผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัส “ไข้หวัด” หรือใช้ของร่วมกับผู้ป่วย แต่ถ้าหากเป็นฤดูหนาวเชื้อไวรัสจะเจริญเติบโตได้ดีที่สุด เติบโตอย่างรวดเร็ว เชื้อไวรัส“ไข้หวัด” ชอบความเย็นสามารถอาศัยและฝังตัวเติบโตได้ในที่อากาศเย็นๆ หากเป็นช่วงฤดูหนาวนอกจากที่กลางแจ้งที่มีอากาศเย็นที่เชื้อไวรัสชอบแล้ว ในห้องแอร์ หรือห้องปิดที่ไม่มีอากาศถ่ายเท เชื้อไวรัส “ไข้หวัด” ก็สามารถเข้าไปฝังตัวอยู่ได้เช่นกัน ทำให้บางครั้งคนทั่วไปอาจไม่รู้ตัวว่าในสถานที่ที่อยู่นั้น มีเชื้อไวรัส “ไข้หวัด” อาศรัยร่วมอยู่ด้วย จนเข้าสู่ร่างกายโดยไม่รู้ตัว เมื่อป่วยเป็น “ไข้หวัด”  ใหญ่แต่มีเชื้อไวรัสสะสมจำนวนมากจนทำลายอวัยวะภายร่างกายทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิตได้

โรค“ไข้หวัด” สายพันธุ์พิเศษ

ในการป่วยเป็นโรค“ไข้หวัด” ใหญ่นั้น มีการติดเชื้อไวรัสประเภทอินฟลูเอนซา (Influenza Virus) ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ตัวหลักของการแพร่กระจายเชื้อ แต่หากมีปัจจัยภายนอกในการกระตุ้นให้เชื้อเกิดการขยายพันธุ์ กลายเป็นเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ที่มีความรุนแรงมากกว่า และแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว ยกตัวอย่างเช่น ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 เกิดจากเชื้อไข้หวัดใหญ่ ชนิด เอช 1 เอ็น 1 (H1N1) ที่กลายพันธุ์จากเชื้อไวรัสตัวเดิม อาจมีการเติบโตของเชื้อไวรัสจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย และการอยู่อาศัยของเชื้อไวรัสที่ทำให้เจริญเติบโตได้ดี ซึ่งหาที่มาไม่ได้ว่ามีการขยายพันธุ์จากสัตว์หรือคน แต่สามารแพร่กระจายถึงกันได้ จึงทำให้ผู้คนส่วนใหญ่ไม่มีภูมิคุ้มกันและติดเชื้อในวงกว้างอย่างรวดเร็ว และเป็นอันตรายถึงชีวิตในผู้ป่วยบางราย

อย่างไรก็ตามในเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่เป็นเชื้อที่มีการพบมาอย่างยาวนานในกลุ่มของมนุษย์ และเป็นเชื้อไวรัสที่มีการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมได้ตลอดเวลา ตามสภาพอากาศและสภาพที่อยู่อาศัย ทำให้ผู้ที่ป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ สามารถกลับมาป่วยได้อีกครั้งเมื่อได้รับเชื้อ แต่อาการอาจจะไม่รุนแรงมากนักเพราะเคยได้รับเชื้อไวรัสประเภทนี้มาก่อนหน้าแล้ว จึงทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันมากขึ้น