Uncategorized

โรค ไข้หวัด เป็นมากในเด็กหรือผู้ใหญ่

ตั้งแต่ยุคสมัยโบราณมาจนถึงสมัยปัจจุบัน มีการเจ็บไข้ได้ป่วยในหลากหลายโรค แต่มีไม่กี่โรคเท่านั้นที่จะพบบ่อยมากๆ ในกลุ่มเด็กและผู้ใหญ่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ในทุกยุคสมัยและทุกฤดูกาล หนึ่งในโรคยอดฮิตตลอดกาลเลยก็คือโรค “ไข้หวัด” ซึ่งเป็นโรคที่เกิดได้กับทุกคน ทุกเพศทุกวัย โดยมีปัจจัยมาจากหลากหลายสาเหตุทั้ง เชื้อไวรัส เชื้อโรค แบคทีเรีย และปัจจัยภายนอกอื่นๆ สภาพอากาศ มลพิษ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดโรค “ไข้หวัด” ได้เช่นกัน ทำให้กลุ่มเด็กและผู้ใหญ่มีโอกาสป่วยได้ตลอดเวลา

สาเหตุของการเกิดโรค “ไข้หวัด” ก็คือการติดเชื้อไวรัสที่มีมากกว่า 100 ชนิด โดยที่พบมากที่สุดจะเป็นการติดเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า “ไรโนไวรัส ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่เป็นตัวหลักของโรค “ไข้หวัด” เลยก็ว่าได้ และไม่ใช่แค่เชื้อไวรัสโดยทั่วไป แต่มีเชื้อไวรัสบางประเภทที่สามารถขยายกลายพันธุ์ไปได้มากกว่า 1 สายพันธุ์ หรือที่เคยได้ยินกันดีในชื่อ เชื้อไวรัสสายพันธุ์ A เชื้อไวรัสสายพันธุ์ B เชื้อไวรัสสายพันธุ์ C เป็นเชื้อไวรัสที่มีความรุนแรงมาก อันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้

โดยเชื้อไวรัส“ไข้หวัด” จะสามารถติดต่อได้ทางระบบทางเดินหายใจส่วนบน หรือโพรงจมูก ที่หายใจเอาเชื้อโรคเข้าไป  หรือตาที่ใช้มือที่สัมผัสเชื้อไวรัสขยี้ตา และปากที่หยิบจับอาหารเข้าปาก เป็นอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสทำให้ป่วยเป็น “ไข้หวัด” ได้ อีกทั้งรอบตัวยังมีอากาศที่หายใจร่วมกัน ซึ่งไม่สามารถที่จะรู้ได้เลยว่าใครที่มีเชื้อไวรัส “ไข้หวัด” บ้าง เมื่อหายใจเข้าไปก็จะมีโอกาสติดเชื้อ “ไข้หวัด” ได้เช่นกัน

ในกลุ่มวัยเด็กและผู้ใหญ่จะมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัส “ไข้หวัด” มากกว่ากลุ่มอื่นอย่าง ผู้สูงอายุ เพราะว่าในกลุ่มเด็กที่มีอายุน้อยต่ำกว่า 3 ขวบจะมีภูมิคุ้มกันต่ำ เมื่อสภาพร่างกายอ่อนแอก็จะทำให้ติดเชื้อไวรัสได้หายและอีกปัจจัยหลักในกลุ่มวัยเด็กที่ป่วยเป็น “ไข้หวัด” เลยก็คือ สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อย ฤดูฝน ฤดูหนาว ก็มีผลที่ทำให้กลุ่มวัยเด็กป่วยเป็น “ไข้หวัด” ได้ง่ายๆ

อาการของโรค “ไข้หวัด” ที่แสดงออกให้เห็นชัดเจนเลยก็คือ มีไข้ต่ำๆ ซึ่งเป็นอาการของไข้หวัดธรรมดา ไม่ใช่ในไข้หวัดใหญ่ อาการน้ำมูกไหลใสไปจนขุ่น ไอแห้ง ไอมีเสมหะ จามบ้าง มีอาการคัดจมูก ปวดศีรษะและมีอุณหภูมิสูงขึ้นประมาณ 37 ถึง 39 องศาเซลเซียสมากกว่านี้จะต้องพบแพทย์โดยด่วน เพราะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

โรค“ไข้หวัด” ในกลุ่มเด็กจะแบ่งออกเป็นเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 3 ปี และเด็กที่มีอายุมากกว่า 3 ปีขึ้นไป โดยในกลุ่มที่เป็นเด็กทารกหรือต่ำกว่า 3 ปีนั้น จะเป็นกลุ่มที่พบว่าป่วยเป็น “ไข้หวัด”  มากที่สุด อาการก็จะเริ่มจากมีไข้ต่ำๆ ตัวร้อน มีน้ำมูกไหล อาการจะหายไปเองได้ภายในไม่กี่วัน

หากเป็นกลุ่มเด็กที่อายุมากกว่า 3 ปีขึ้นไป จะมีอาการไข้สูงกว่าเล็กน้อย ตัวร้อน น้ำมูกไหล หนาวสั่น มีไอ จาม ร่วมด้วย แต่ในกลุ่มเด็กเมื่อป่วยเป็น “ไข้หวัด” และมีไข้สูงตั้งแต่ 38 องศาเซลเซียสขึ้นไป ต่อเนื่องตั้งแต่ 2 วันขึ้นไป หรืออาการไม่ดีขึ้น หายใจมีเสียง ทานอาหารไม่ได้ อาเจียน มีอาการปวดศีรษะ และไออย่างรุนแรงต้องรีบพบแพทย์โดยด่วน อย่าปล่อยทิ้งไว้จะเป็นอันตรายมาก

โรค “ไข้หวัด” ในผู้ใหญ่ เมื่อติดเชื้อไวรัสจะเริ่มมีไข้สูงตั้งแต่ 38.5 องศาเซลเซียสขึ้นไปจนมากกว่า 40 องศาเซลเซียสได้ โดยระยะเวลาของไข้จะอยู่ประมาณตั้งแต่ 5 วันขึ้นไป ไอแห้ง ไอมีเสมหะแตกต่างกันที่เชื้อไวรัสนั้นรุนแรงมากเพียงใด จาม คัดจมูก มีน้ำมูกใสไปจนน้ำมูกขุ่นข้นที่เกิดจากการติดเชื้อรุนแรง มีอาการปวดตามตัว ปวดกล้ามเนื้อ ครั่นเนื้อครั่นตัว และมีปัญหาเรื่องการหายใจไม่สะดวก น้ำมูกอุดตัน มีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง ซึ่งหากป่วยเป็น“ไข้หวัด” มากกว่า 7 วันแล้วยังไม่หาย ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจอย่างละเอียด ป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ

สรุปแล้วก็คือในกลุ่มของโรค “ไข้หวัด” จะสามารถพบมากในกลุ่มวัยเด็กมากกว่าวัยผู้ใหญ่ แต่วัยผู้ใหญ่จะมีอาการที่รุนแรงมากกว่าเด็ก โดยปัจจัยหลายอย่างที่กระตุ้นให้อาการรุนแรง และปริมาณการรับเชื้อไวรัสของแต่ละกลุ่ม ซึ่งในเด็กจะมีการติดเชื้อ “ไข้หวัด” ที่มีความรุนแรงน้อย ไม่ใช้เชื้อไวรัสสายพันธุ์ที่รุนแรงมากนักทำให้หายได้เอง ถ้ารักษาอย่างถูกวิธี แต่ถ้าเป็นในกลุ่มผู้ใหญ่ที่มีการพบปะผู้คน มีสภาพแวดล้อมที่เสี่ยง มีโอกาสที่จะติดเชื้อไวรัสชนิดที่รุนแรงมากกว่า และทำให้มีอาการที่หนักกว่าอย่างเห็นได้ชัด

สำหรับอาการของโรค “ไข้หวัด” ที่อาจพบร่วมด้วยหากเป็นการติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์พิเศษก็คือ จะมีอาการปวดในหู ระคายเคืองดวงตา ปวดเมื่อยไปทั่วร่างกาย และจะแสดงอาการรุนแรงใน 3 วันแรก หรือมีไข้สูงแบบเฉียบพลัน ปวดศีรษะรุนแรง ซึ่งเป็นอาการที่อาจเกิดจากเชื้อไวรัสสายพันธุ์ที่เป็นอันตรายมาก จึงต้องคอยสังเกตตัวเองว่า เมื่อมีอาการเหล่านี้ที่กล่าวมาข้างต้น ควรรีบรักษา ทานยาลดไข้ นอนพักให้เพียง ดื่มน้ำให้มาก อาการก็จะหายเองได้ภายใน 7 วัน และที่สำคัญต้องคอยป้องกันไม่ให้แพร่เชื้อไปยังผู้อื่นโดยการใช้ของร่วมกันหรือสัมผัสกับผู้อื่นโดยตรง