Uncategorized

วิธีการเตรียมตัวรักษาโควิดแบบ Home Isolution

วิธีการเตรียมตัวรักษาโควิดแบบ Home Isolution

ในปัจจุบันโรคโควิด-19นั้นถือว่าเป็นโรคไม่สามารถหลีกเหลี่ยงได้มีการแพร่ระบาดหลายพื้นที่และเพิ่มจำนวนผู้ป่วยอย่างรวดเร็วจึงทำให้มีผลต่อการเข้ารับการรักษา ในช่วงแรกที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสนั้นผู้ป่วยยังสามารถที่จะเข้ารับการรักษาภายในโรงพยาบาลได้ทันทีบุคลากรและอุปกรณ์การแพทย์ยังเพียงพอต่อความต้องการแต่สถานการณ์ในตอนนี้ผู้ติดเชื้อทวีคูณเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ทำให้สถานพยาบาลอุปกรณ์การแพทย์ไม่เพียงพอต่อการรักษา จึงทำให้มีการเลือกใช้วิธีการรักษาในรูปแบบใหม่เพื่อให้เพียงพอต่อจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นทุกวัน


โดยการรักษารูปแบบใหม่ที่สามารถรักษาผู้ป่วยติดเชื้อโควิดได้ในระยะที่ผู้ป่วยไม่รุนแรงจะเลือกใช้วิธีการรักษาแบบ Home Isolation หรือการแยกกักตัวที่บ้านสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ซึ่งมีหลักเกณฑ์การคัดเลือกผู้ป่วยดังนี้

  • ผู้ป่วยโควิด-19 ที่กำลังรอ admit หรือรอเข้ารับการรักษาตัวที่ รพ. ซึ่งแพทย์พิจารณาแล้วว่า สามารถรักษาตัวที่บ้านได้
  • ผู้ป่วยโควิด-19 ที่รักษาตัวในรพ. หรือสถานที่ที่รัฐจัดให้อย่างน้อย 10 วันและแพทย์พิจารณาว่าสามารถทำHome Isolation ต่อได้
  • ผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการไม่รุนแรงมากนักได้รับวัคซีนมากกว่า 2 เข็มขึ้นไป และไม่มีโรคประจำตัวสามารถรักษาตัวเองที่บ้านได้

ผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์ในการทำ “Home Isolation”

  • เป็นผู้ติดเชื้อไม่มีอาการ
  • ผู้ป่วยมีอายุน้อยกว่า 60 ปี
  • ผู้ป่วยมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง
  • ผู้ป่วยต้องไม่มีภาวะอ้วนหรือดัชนีมวลกาย >30 กก./ม.2 หรือ น้ำหนักตัว >90 กก.
  • ผู้ป่วยไม่มีโรคประจำตัวหรือโรคที่เสี่ยงต่อการแทรกซ้อนขณะติดเชื้อ
  • ผู้ป่วยที่ยินยอมแยกตัวในที่พักของตัวเอง

การแบ่งกลุ่มของผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ตามอาการ

1.ระดับแรกอาการสีเขียว

อาการเบื้องต้นของผู้ป่วยที่เริ่มติดโควิด-19 มีอาการเหมือนเป็นไข้หวัดปกติ หรือไม่มีอาการ กลุ่มคนที่มีสุขภาพดีไม่ป่วยบ่อยหรือมีประวัติติดเชื้อ หรือพบโรคเสี่ยงใดๆจัดว่าเป็นผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว สามารถพักรักษาตัวได้เองที่บ้าน


2.ระดับสองอาการสีเหลือง

ผู้ป่วยโควิด-19 เริ่มจะมีอาการ มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง อาการที่แสดงออกมาแน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวกขณะทำกิจกรรม หายใจเร็ว หายใจเหนื่อย หรือหายใจลำบากเวลาไอแล้วเหนื่อยอ่อนเพลีย เวียนศีรษะ ปอดอักเสบ ถ่ายเหลวมากกว่า 3 ครั้งต่อวัน ร่วมกับอาการหน้ามืด วิงเวียน


3.ระดับสามอาการสีแดง

ผู้ป่วยโควิด-19 มีอาการหนักหอบเหนื่อย แน่นหน้าอกตลอดเวลา หายใจแล้วเจ็บหน้าอก ต้องรีบเข้ารับการเอกซเรย์ปอดกลุ่มคนที่มีโรคประจำตัว โรคปอด ผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงจัดว่าเป็นผู้ป่วยสีแดงทั้งหมดต้องรีบเข้ารับการรักษาจากโรงพยาบาลโดยด่วนที่สุด


สิ่งของจำเป็นสำหรับผู้ป่วยที่พักรักษาตัวแบบ Home Isolution

กลุ่มยารักษาโรค

  • ยาลดไข้พาราเซตามอลกินเมื่อมีอการเป็นไข้ ปวดหัว
  • ยาแก้แพ้ลดน้ำมูก กินเมื่อมีน้ำมูก คัดจมูก
  • ยาแก้ไอใช้สำหรับผู้ที่มีอาการไอร่วมด้วย สามารถกินเป็นแบบน้ำหรือแบบเม็ดก็ได้
  • ยาละลายเสมหะใช้สำหรับผู้ที่มีเสมหะหรือเมื่อมีอาการ
  • ยาอมแก้เจ็บคอ ใช้สำหรับผู้ที่มีอาการเจ็บคอ ให้ใช้ยาอมในการบรรเทาอาการเจ็บคอ

กลุ่มเฝ้าสังเกตอาการ

  • ปรอทวัดไข้วัดเช้า-เย็นเพื่อสังเกตอาการ
  • เครื่องวัดความดัน
  • เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้วอัตราการเต้นของหัวใจผอดปกติหรือไม่

กลุ่มป้องกันเชื้อ

  • หน้ากากอนามัย
  • เจลแอลกอฮอล์
  • สเปรย์แอลกอฮอล์
  • น้ำยาฆ่าเชื้อโรคหรือน้ำยาฟอกผ้าขาว
  • สบู่ล้างมือ ควรมีติดห้องน้ำไว้

กลุ่มของใช้จำเป็นส่วนตัว

  • บรรจุภัณฑ์ใส่อาหาร เช่น จาน ชาม ช้อน ส้อม ให้แยกใช้ส่วนตัว
  • น้ำดื่มแบบแยกขวดยกแพคเฉพาะของผู้ป่วย
  • ของใช้ส่วนตัวแปรงสีฟัน มีดโกนหนวด สำลี ผ้าอนามัย 
  • อุปกรณ์ชำระล้างเช่น สบู่ ยาสระผม ยาสีฟัน
  • แผ่นเจลลดไข้ใช้เมื่อมีไข้สูง ให้ร่างกายลดความร้อนลง
  • ทิชชู่ทิชชู่เปียก ใช้สำหรับการเข้าห้องน้ำหรือเช็ดทำความสะอาด
  • น้ำยาซักผ้าใช้สำหรับซักผ้าส่วนตัวเท่านั้น ไม่ควรใช้ร่วมกับผู้อื่น
  • ถุงมือยางใช้เมื่อจะต้องหยิบจับสิ่งของที่ต้องใช้ร่วมกับผู้อื่น
  • ถุงขยะติดเชื้อ (ถุงขยะสีแดง) เมื่อใช้เสร็จควรมัดปากถุงในปิดสนิทและแน่นหนา

การปฎิบัติตัวของผู้ป่วยโควิด-19 เมื่อทำ Home Isolation

1.ห้ามออกจากที่กักตัวเด็กขาด และห้ามผู้ใดมาเยี่ยมบ้าน

2.ห้ามเข้าใกล้หรืออยู่ใกล้ชิดกับผู้อื่น โดยต้องเว้นระยะห่างอย่างน้อย 2 เมตร

3.แยกห้องพัก ของใช้ส่วนตัวกับผู้อื่นหากแยกไม่ได้ควรแยกให้ห่างจากผู้อื่นให้มากที่สุด

4.ที่พักต้องมีอากาศถ่ายเทได้ดี เปิดหน้าต่างเพื่อรับแดดอยู่เสมอ

5.ห้ามรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น

6.สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา

7.ล้างมือด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์เจลทุกครั้งที่จำเป็นต้องสัมผัสกับของใช้ต่างๆ

8.แยกซักเสื้อผ้า และเครื่องนอน ด้วยน้ำและสบู่ หรือผงซักฟอก

9.ควรใช้ห้องน้ำแยกจากผู้อื่นหรือหากจำเป็นต้องใช้ร่วมกันให้ฉีดแอลกอฮอล์ทั้งก่อนและหลังใช้ห้องน้ำ 

10.แยกขยะ ติดเชื้อและขยะทั่วไปโดยมัดปากถุงขยะให้แน่น การรักษาตัวแบบHomeIsolationจะใช้ระยะเวลาในการกักตัวอยู่ที่ 10-14 วันแต่บางรายอาจมีอาการที่ดีขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ก็ต้องกักตัวอยู่จนครบกำหนดเพื่อลดการแพร่เชื้อ

การรักษาตัวแบบ Home Isolation จะใช้ระยะเวลาในการกักตัวอยู่ที่ 10-14 วันแต่บางรายอาจมีอาการที่ดีขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ก็ต้องกักตัวอยู่จนครบกำหนดเพื่อลดการแพร่เชื้อ