Uncategorized

โรค ไข้หวัด ส่งผลต่อการทำงานของร่างกายส่วนอื่นหรือไม่

หากพูดถึงร่างกายของมนุษย์ ที่มีสุขภาพดี แข็งแรง ก็จะไม่ค่อยมีโอกาสเสี่ยงที่จะเจ็บป่วยใดๆ แต่ถ้าหากเป็นคนที่มีร่างกายอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันต่ำแล้วนั้น ก็จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคต่างๆ ได้ง่าย เจ็บป่วยบ่อยครั้ง ยิ่งทำให้ร่างกายทำงานหนักและทำลายภูมิต้านทานเชื้อโรคลงไปเรื่อยๆ

                 การทำงานของร่างกายนั้น ต้องอาศัยการผสมผสานกันหลายส่วน ทั้งประสาทสัมผัส การรับรส กลิ่น สี เสียง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนมีความสัมพันธ์กัน อวัยวะทุกส่วนของร่างกายจะต้องทำงานร่วมกัน จึงทำให้เมื่อมีอวัยวะใดที่มีความผิดปกติเกิดขึ้น ก็จะยิ่งทำให้อวัยวะส่วนอื่นๆ มีประสิทธิภาพการทำงานที่น้อยลง

                 การเจ็บป่วยของมนุษย์นั้น มีหลากหลายโรคที่เกิดขึ้น ซึ้งแต่โรคนั้นก็มีความรุนแรงที่ส่งผลต่อการทำงานของร่างกายที่แตกต่างกันออกไป วันนี้จึงขอยกเรื่องโรค “ไข้หวัด” ซึ่งเป็นโรคยอดฮิตตลอดกาล ซึ่งเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน และมีผลต่อการทำงานของอวัยวะส่วนต่างๆ ภายในร่างกายอย่างเห็นได้ชัดอีกโรคหนึ่งเลยก็ว่าได้ เป็นโรคที่มีผลกระทบโดยตรงทั้งทางตรงและทางอ้อมของการทำงานของร่างกาย

โรค “ไข้หวัด” เป็นโรคที่เกิดได้ตลอดทั้งปี และพบบ่อยมากในช่วงฤดูฝน ฤดูหนาว หรือในช่วงที่สภาพอากาศมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยๆ ซึ่งการเกิดโรค “ไข้หวัด” นั้นมีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสหลากหลายสายพันธุ์ ที่ผู้ป่วยได้รับเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายโดยการสูดดม ทางระบบทางเดินหายใจส่วนต้น จมูก โพรงจมูก ไปยังทางเดินหายใจ เกิดเป็นเชื้อไวรัสสะสม จนเกิดการอักเสบภายในโพรงจมูก จนป่วยเป็น “ไข้หวัด” นั่นเอง

                 เมื่อป่วยเป็น “ไข้หวัด” แล้ว ความรุนแรงของอาการจะแสดงในช่วง 2-3 วัน แล้วค่อยๆ ทุเลาลงตามลำดับและการรักษาที่ถูกต้อง แต่ทุกครั้งทีป่วยเป็น “ไข้หวัด” นั้นอาการที่แสดงก็จะมีผลต่อการทำงานของอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายอย่างเห็นได้ชัด โดยอาการแต่ละแบบก็จะส่งผลต่ออวัยวะแต่ละส่วนได้ดังนี้

อาการไข้ขึ้นสูง

โรค “ไข้หวัด” อาการจะเริ่มจากการที่มีไข้ ในหวัดธรรมดาจะมีไข้ต่ำและค่อยๆ สูงขึ้นเรื่อยๆ แต่ใน ไข้หวัดใหญ่จะเป็นอาการไข้ที่สูงแบบเฉียบพลันทันทีทันใด เมื่อมีไข้ระบบการทำงานของร่างกายก็จะชะลอตัวลง และมีผลต่อกล้ามเนื้อของร่างกายอ่อนแรงลง ครั่นเนื้อครั่นตัว มีอาการปวดศีรษะเล็กน้อยร่วมด้วย อาการ“ไข้หวัด” มักเป็นอยู่ในระยะ 1 – 3 วัน แล้วก็จะหายไปเองได้

อาการน้ำมูกไหล

อย่างที่บอกว่า “ไข้หวัด” นั้นเป็นโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจส่วนต้นคือ จมูก นั่นหมายถึงว่าอวัยวะจมูกจะต้องได้รับกระทบของเชื้อ “ไข้หวัด” อย่างแน่นอน เมื่อป่วยเป็นหวัดจะเริ่มมีอาการ คัดจมูก หายใจได้ไม่สะดวกเนื่องจากจมูกบวม มีน้ำมูกไหล มักเป็นน้ำมูกใสไม่ข้น นั่นหมายถึงมีการอักเสบและอุดตันภายในโพรงจมูก ทำให้หายใจติดขัด หายใจไม่ออก เกิดการอุดตันของน้ำมูกภายในโพรงจมูก อาการเหล่านี้เป็นผลกระทบที่มาจากโรค “ไข้หวัด” โดยตรง หากในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง มีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนภายในโพรงจมูกร่วมด้วย จะส่งผลกระทบให้มีไข้สูงมากกว่า 5 วัน หรือมีน้ำมูกสีเข้มข้นเหลืองมากกว่าปกติ ถ้าหนักกว่านั้นคือน้ำมูกสีเขียวเข้มต้องระวังและรีบพบแพทย์เพื่อรักษาโดยด่วน

อาการไอ

เมื่อป่วยเป็น “ไข้หวัด” ต้องมีอาการไอแห้ง ไอมีเสมหะตามมาอย่างแน่นอน แต่จะไอแบบไหนก็ขึ้นอยู่กับว่าเชื้อไวรัสที่ติดในลำคอนั้นมีความรุนแรงมากน้อยเพียงใด นั่นหมายถึงว่าทุกครั้งที่มีอาการไอลำคอก็จะมีการอักเสบมากขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งไอมากเท่าไหร่ก็จะทำให้การอักเสบรุนแรงขึ้นไปเรื่อยๆ การไอที่เกิดจากโรค “ไข้หวัด” จะเป็นไอแห้งๆ หรือไอมีเสมหะเล็กน้อย จะมีลักษณะใสหรือขาวแสดงว่ายังไม่ติดเชื้อรุนแรง แต่ถ้าหากสีของเสมหะเปลี่ยนไปเป็นสีเข้มเขียวไปจนดำ ต้องรีบพบแพทย์ทันที

อาการจาม

อาการจามเมื่อป่วยเป็น “ไข้หวัด” เป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน เนื่องจากเกิดการระคายเคืองจากเชื้อโรคที่เกาะติดภายในโพรงจมูก แต่ที่ต้องระวังให้มากก็คือ หากจามบ่อยครั้งเส้นเลือดฝอยภายในโพรงจมูกอาจเกิดการแตกได้ จนกลายเป็นเลือดซึมภายในหรือ หากจามหนักมากผิดปกติเส้นเลือดฝอยแตกจนกระทั้งกลายเป็นเลือดกำเดาได้เช่นกัน

อาการเสียงแหบ

ส่วนนี้ต้องพูดถึงอาการของโรค “ไข้หวัด” ที่เชื้อไวรัสลงไปสู่ช่องลมหรือที่เรียกกันว่า หวัดลงคอนั่นเอง เมื่อเชื้อไวรัสลงไปที่ลำคอแล้วก็จะมีผลกระทบให้เกิดอาการ เสียงแหบพร่า เสียงหาย เนื่องจากทางเดินหายใจมีการอักเสบและติดเชื้อไวรัส จนเกิดภาวะกล่องเสียงอักเสบ ซึ่งเป็นผลกระทบมาจากโรค “ไข้หวัด” นั่นเอง

อาการปวดศีรษะ

เนื่องจากการปวดศีรษะของโรค “ไข้หวัด” นั้น มีผลมาจากระบบทางเดินหายใจหรือโพรงจมูก ซึ่งเป็นการสูดดมอากาศของทางเดินหายใจที่ไม่คล่องตัว จนเกิดอาการอุดตันและอักเสบ ส่งผลต่อระบบประสาทเกิดเป็นอาการปวดหัว ปวดศีรษะ ในผู้ป่วยที่มีอาการไมเกรน จะมีผลรุนแรงมากขึ้นเพราะหากปวดศีรษะเป็นเวลานานมากและบ่อยครั้ง อาการไมเกรนก็จะถูกกระตุ้นให้ปวดเกรนร่วมด้วย

อาการปวดหู

อาการปวดหูเป็นผลกระทบของโรค “ไข้หวัด” ที่มีการติดเชื้อรุนแรงและเชื้อไวรัสชนิดนั้นๆ เป็นสายพันธุ์ที่ทำลายเยื่อบุโพรงจมูกได้อย่างรวดเร็ว จนติดเชื้อไปยังอวัยวะส่วนอื่นๆ ได้ง่าย ผู้ป่วย “ไข้หวัด” หากมีอาการปวดหัวหนักมาก ปวดศีรษะ ปวดหูมากๆ อาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อที่หูได้

อาการปวดกล้ามเนื้อ

ข้อนี้ถือเป็นผลกระทบของโรค “ไข้หวัด” อย่างชัดเจนเลยก็ว่าได้ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดตัว ในบางรายที่มีอาการไข้รุนแรง ไข้สูงจะปวดไปตามข้อ กระดูกเลยก็เป็นได้ ซึ่งมีผลต่อการดำเนินชีวิตอย่างแน่นอน อ่อนเพลีย ลุกไม่ขึ้น เนื่องจากปวดล้าไปทั่วร่างกาย

อาการระคายเคืองตา

ในผู้ป่วย “ไข้หวัด” จะมีอาการระคายเคืองที่ดวงตา หรือมีตาแดง ขี้ตาเปียก ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นข้อบ่งชี้ว่าภายในร่างกายมีอุณหภูมิสูง ร่างกายร้อน มีไข้ จนเกิดการระคายเคืองบริเวณตา สังเกตได้ง่ายๆ ว่าเมื่อป่วยเป็น “ไข้หวัด” และมีไข้สูง ตาจะแดงแบบเห็นได้ชัด