Uncategorized

รักษาอย่างไรเมื่อติดเชื้อโควิด

รักษาอย่างไรเมื่อติดเชื้อโควิด

โรคโควิด 19 คือโรคติดต่อที่มีการระบาดไปทั่วโลกจึงทำให้หลายประเทศมีแนวทางป้องกันและมาตรการความปลอดภัยขั้นสูงเพื่อไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดในวงกว้างโดยเชื้อไวรัสโควิดนั้นสามารถแพร่กระจายเชื้อผ่านทางอากาศสิ่งมีชีวิตที่เป็นพาหะเเพร่เชื้อผ่านทางสารคัดหลั่งกระจายออกมาทางปาก หรือเสมหะโดยการไอหรือจาม ทำให้เชื้อฟุ้งกระจายภายในอากาศผู้ที่อยู่ใกล้เคียงสูดดมละอองเข้าไปในร่างกายก็มโอกาสติดเชื้อได้สูงมากนอกจากนั้นไวรัสโควิด19 ยังสามารถติดเชื้อผ่านทางการสัมผัสเช่น การจับมือกัน หรือใช้ของร่วมกันแล้วนำมือที่สัมผัสเชื้อไวรัสมาสัมผัสตาหรือจมูก ก็ทำให้ติดเชื้อได้เช่นกันสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงจะติดเชื้อไวรัสโควิดนั้นเชื้อจะฟักตัวหลังการติดเชื้อประมาณ 3-7 วัน

อาการก็จะแสดงออกมาให้เห็นในแต่ละบุคคลจะแสดงอาการไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับว่าเชื้อเข้าไปทำร้ายส่วนต่างๆ

ภายในร่างกายมากน้อยเพียงใดและร่วมไปถึงระบบภูมิคุ้มกันของแต่ละคนอีกด้วย

อาการโควิดที่พบได้บ่อย

     1.มีไข้ วัดอุณหภูมิร่างกาย 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป

     2.มีอาการทางเดินหายใจ

  • เจ็บคอหรือระคายคอ
  • ไอแห้ง ไอมีเสมหะ
  • มีน้ำมูกไหล ใสและขุ่นติดเชื้อ
  • หายใจเร็ว หายใจลำบาก หอบเหนื่อย
  • ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงอาจจะเกิดอาการปอดอักเสบ
  • เสียประสาทสัมผัส จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส
  •  

นสถานการณ์ที่เชื้อไวรัสแพร่ระบาดรวดเร็วแบบนี้หากเดินทางไปสถานที่แออัดหรือไปพื้นที่เสียงติดเชื้อ ได้พูดคุยใกล้ชิดกับผู้ป่วยหลังจากกลับมาก็ควรเช็คอาการข้างต้นทันที หรือเฝ้าระวังประมาณ 3 วันแล้วตรวจเช็คร่างกายว่าผิดปกติหรือไม่


             แต่ในบางกรณีที่อาจจะจำเป็นที่จะต้องไปในพื้นที่เสี่ยงติดเชื้อโควิดหลังกลับมาก็สามารถที่จะซื้อชุดตรวจ ATK มาตรวจได้เช่นกันหากผลตรวจออกมาเป็น “บวก” และมีอาการแสดงออกมาควรรีบพบแพทย์โดยด่วนเพื่อตรวจเพิ่มเติมถึงความเสี่ยงอื่นๆส่วนกรณีที่ผล ATK เป็น ‘ลบ’ จะพิจารณาต่อว่า มีอาการหรือไม่ ถ้ามีอาการจะต้องตรวจ PCR ซ้ำเพื่อดูผลอีกครั้ง ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงก็ควรจะตรวจซ้ำทุก 7 วัน เพื่อรีเช็คว่ามีเชื้อภายในร่างกายหรือไม่หากเป็นผู้ติดเชื้อโควิด 19 จะมีการแบ่งแยกการรักษาตามแนวทางของกรมการแพทย์ได้ดังนี้      

  1. กลุ่มผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการ

             ไวรัสโควิด19 นั้นในผู้ป่วยบางรายที่ได้รับเชื้ออาจจะไม่มีอาการแสดงแต่ตรวจพบว่ามีเชื้อภายในร่างกายแฝงอยู่อาจเนื่องมาจากภูมิคุ้มกันภายในที่สามารถต่อต้านไม่ให้แสดงอาการได้แต่ไม่สามารถที่จะฆ่าเชื้อออกไปได้ทันทีจึงแนะนำให้แยกกักตัวที่บ้านหรือในสถานที่ที่รัฐจัดให้อย่างน้อย 14 วัน นับจากวันที่ตรวจพบเชื้อ ระยะเวลาการกักตัว(ในสถานพยาบาลรวมกับที่บ้าน) อาจนานกว่านี้ในผู้ป่วยบางรายที่เริ่มแสดงอาการภายหลังและให้ดูแลรักษาตามดุลยพินิจของแพทย์ ไม่ให้ยาต้านไวรัสเนื่องจากส่วนมากหายได้เองและอาจได้รับผลข้างเคียงจากยาภายหลังการพิจารณาให้ยาฟ้าทะลายโจรในกลุ่มที่ไม่มีอาการ แต่ก็จะไม่ให้ฟ้าทะลายโจรร่วมกับยาต้านไวรัส เพราะอาจมีผลข้างเคียงจากยาได้


  1. กลุ่มผู้ติดเชื้อที่มีอาการไม่รุนแรง 

   ในผู้ป่วยกลุ่มนี้เมื่อตรวจพบเชื้อแต่อาการที่แสดงไม่รุนแรงมากนักไม่มีปอดอักเสบ และไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรงที่จะทำให้ร่างกายทรุดตัวมากขึ้น หลังตรวจพบเชื้อมาเกิน 7 วัน และผู้ป่วยไม่มีอาการ หรือมีอาการน้อยอาจไม่จำเป็นต้องให้ยาต้านไวรัสเพราะผู้ป่วยกลุ่มนี้น่าจะหายได้เองโดยไม่มีภาวะแทรกซ้อนแนะนำให้แยกกักตัวที่บ้านหรือในสถานที่ที่รัฐจัดให้อย่างน้อย 14 วัน นับจากวันที่มีอาการ อาการก็จะค่อยๆ ดีขึ้นตามลำดับ


  1. กลุ่มผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการแต่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง    

             เชื้อไวรัสโควิดนั้นมีความอันตรายต่อร่างกายของผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำและจะยิ่งอันตรายมากในกลุ่มที่มีโรคประจำตัวเพราะจะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามมาได้ง่ายมากๆโดยกลุ่มที่มีความเสี่ยงมากที่สุดเลยก็คือ ผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี หรือภาวะอ้วน (น้ำหนักมากกว่า 90 กก.)โดยกลุ่มคนเหล่านี้เมื่อได้รับเชื้อก็จะทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายไม่สามารถที่จะต่อต้านได้ดีเท่ากับคนปกติทั่วไปจึงทำให้อาการอาจจะแสดงออกมาได้หลากหลายอีกทั้งในกลุ่มผู้ที่มีโรคประจำตัวเมื่อได้รับเชื้อโควิดก็มีความเสี่ยงต่อความรุนแรงของโรคมากยิ่งขึ้นโดยโรคที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนและอันตรายต่อชีวิต ได้แก่ โรคปอดเรื้อรังโรคไตเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน โรคตับแข็งในผู้ป่วยกลุ่มนี้จะต้องนอนโรงพยาบาล โดยอยู่ในระบบการรักษาและการแยกโรคอย่างน้อย 14 วัน นับจากวันที่เริ่มมีอาการหรือจนกว่าอาการจะดีขึ้น


  1. ผู้ติดเชื้อที่มีปอดบวม ปอดติดเชื้อ

อาการของผู้ป่วยที่ติดเชื้อจะเกิดความเสียหายที่ปอด ปอดอักเสบ ปอดบวมมีภาวะลดลงของออกซิเจนขณะออกแรงลดลงมากกว่า 3% ของค่าที่วัดได้ครั้งแรก ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะต้องนอนโรงพยาบาลอย่างน้อย 14 วันหรือจนกว่าอาการจะดีขึ้น ถ้าหากร่างกายไม่ตอบสนองต่อการรักษา อาจพิจารณาเปลี่ยนวิธีการรักษาในรูปแบบอื่นๆตามดุลพินิจของแพทย์