Uncategorized

ไข้หวัดใหญ่ ต่างจากไข้หวัดธรรมดาอย่างไร

“ไข้หวัดใหญ่” ต่างจากไข้หวัดธรรมดาอย่างไร ?


โรค “ไข้หวัด” เป็นโรคที่รู้จักกันดี เป็นโรคที่ถูกพบมากที่สุดเป็นอันดับต้นๆ ของโรคชนิดอื่นๆ เนื่องด้วยโรคหวัดนั้นเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ทุกช่วงฤดูกาลทั้ง อากาศร้อน อากาศหนาว ก็สามารถป่วยเป็นไข้หวัดได้ อีกทั้งในโรค “ไข้หวัด” ยังมีการขยายพันธุ์ได้หลากหลายสายพันธุ์ ขึ้นอยู่กับปัจจัยโดยรอบ ทั่งภาวะสภาพอากาศ อุณหภูมิ ความอ่อนแรงของร่างกาย ที่เป็นตัวกระตุ้นให้เชื้อไวรัส ฝังตัวและขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว

 การติดเชื้อโรค “ไข้หวัด” นั้นเป็นการรับเชื้อจากภายนอกเข้าสู่ร่างกาย โดยมีการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนต้น บริเวณจมูก เมื่อรับเชื้อไวรัสเข้าไปแล้ว จะเกิดการอักเสบของเยื่อบุโพรงจมูก มีการสะสมของเชื้อไวรัส จนเป็นหนองเกิดน้ำมูกใสไปจนสีเข้ม และระคายเคืองจมูกอยู่ตลอดเวลา

โดยโรค “ไข้หวัด” จะมีผู้ป่วยติดเชื้อมากที่สุดในช่วงฤดูฝน (มิถุนายน-ตุลาคม) เพราะอากาศจะชื้น ทำให้เชื้อแพร่กระจายได้ดี และในฤดูหนาว (มกราคม-มีนาคม) ของทุกปี เชื้อไวรัสจะชอบอากาศเย็นและเจริญเติบโตได้ดีในอาการหนาวเย็น เป็นช่วงที่มีการติดเชื้อมากที่สุด และในช่วงวัยเด็กจะพบผู้ป่วยมากกว่าวัยผู้ใหญ่ อาการของโรค “ไข้หวัด” จะมีตั้งแต่อาการเจ็บป่วยเพียงเล็กน้อย ไปจนถึงอาการที่รุนแรงเชื้อไวรัสลงปอดและเสียชีวิตได้

“ไข้หวัด” ทั้งสองชนิด เป็นโรคที่สามารถพบได้ทั้งช่วงวัยเด็กอายุเฉลี่ย 1-3 ขวบและวัยผู้ใหญ่ 20-40 แต่จะมีผู้ป่วยวัยสูงอายุอายุ 50 ปีขึ้นไป จะป่วยเป็น “ไข้หวัด” ซะส่วนน้อย ไม่ค่อยพบมากนัก จึงทำให้ต้องระมัดระวังกลุ่มของผู้ป่วยเด็กในแต่ละช่วงอายุให้มากขึ้น  

ความแตกต่างของ “ไข้หวัด” ธรรมดาและ “ไข้หวัด” ใหญ่

ลักษณะอาการ

หากพูดถึงลักษณะอาการของผู้ป่วย “ไข้หวัด” ใหญ่และ “ไข้หวัด” ธรรมดานั้น มีความคล้ายคลึงกันค่อนข้างมาก เริ่มจากอากาศ มีไข้ หนาวสั่น ครั่นเนื้อครั่นตัว มีอาการไอ จาม มีน้ำมูกร่วมด้วย เป็นอาการเบื้องต้นของผู้ที่ป่วยเป็น“ไข้หวัด” แต่ในโรค “ไข้หวัด” ใหญ่นั้นจะมีอาการที่รุนแรงมากกว่าอย่างเห็นได้ชัด ไข้สูง มีน้ำมูก ไอเสมหะติดเชื้อ สีเข้ม ปวดเมื่อยร่างกาย เมื่อยไปถึงกระดูก ร่างกายอ่อนเพลียเฉียบพลัน จะมีใช่อาการที่ไข้ค่อยๆ ขึ้นแต่ไข้จะขึ้นสูงทันทีเมื่อมีการติดเชื้อไวรัส “ไข้หวัด” ใหญ่ ไม่เหมือนอาการของไข้หวัดธรรมดาทั่วไป

ระยะเวลาฟื้นตัว

หากเป็น “ไข้หวัด” ธรรมดา อาการมีไข้ อ่อนเพลีย ทานยาลดไข้ พักผ่อนให้เพียงพอก็จะช่วยให้อาการที่แสดงหายไปได้ประมาณ 1-3 วันก็จะค่อยๆ ดีขึ้นตามลำดับ ในผู้ที่มีร่างกายแข็งแรงอยู่แล้วนั้นอาการของไข้หวัดก็จะไม่ค่อยแสดงมากนัก อาจจะหายได้ภายใน 1 วันเลยก็ได้ แต่ถ้าหากเป็น“ไข้หวัด” ใหญ่ อาจมีอาการยาวนานถึงประมาณ 10 วันหรือมากกว่านั้นก็ได้ หากไม่ได้รับการรักษา ทานยาและดูแลที่ถูกต้อง

ภาวะแทรกซ้อน

นอกจากไข้หวัดใหญ่จะเป็นโรคที่มีระยะเวลารักษาที่ยาวนานแล้ว ยังมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนมากกว่าไข้หวัดธรรมดาอีกด้วย เพราะว่าผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัดใหญ่บางรายที่มีอาการหนักอาจจะต้องนอนโรงพยาบาล เพื่อสังเกตอาการอยู่ตลอดเวลา คอยดูอาการ ป้องกันอาการของโรคแทรกซ้อนอื่นๆ โดยภาวะแทรกซ้อนของโรคอื่นที่พบมากในเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่นั้นจะเป็นกลุ่มโรค ไซนัสอักเสบ หลอดลมอักเสบ และปอดอักเสบ ซึ่งเป็นการติดเชื้อจากระบบทางเดินหายใจส่วนบน และลุกลามไปยังอวัยวะส่วนอื่นๆ ที่รองลงไปภายใน แต่ภาวะของโรคแทรกซ้อนมักเกิดในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงเช่น มีโรคประจำตัว หรือเป็นโรคที่มีตัวกระตุ้นเดียวกัน โรคภูมิแพ้ ต่างๆ ก็จะมีส่วนทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ ในบางรายที่มีอาการไข้หวัดใหญ่รุนแรงอย่างหนักจะสามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงต่างๆ ตามมาได้เช่น กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ปลายประสาทอักเสบ หรือสมองอักเสบ แต่จะมีการพบได้น้อยมากในผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ที่เกิดโรคแทรกซ้อนประเภทนี้

ไข้หวัดใหญ่ และ ไข้หวัดธรรมดา รักษาอย่างไรได้บ้าง ?

ในโรคไข้หวัดธรรมดาและไข้หวัดใหญ่นั้นผู้ป่วยสามารถหายได้เอง หากได้รับการรักษา ทานยาลดไข้ ยาแก้ปวด นอนหลับพักผ่อน ทานอาหารที่มีประโยชน์หรือช่วยต้านเชื้อไข้หวัดได้ ก็จะหายได้เองภายในระยะเวลาอันสั้น ในผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงสามารถดูแลเองที่บ้านและรักษาตามอาการ เช่น เมื่อมีไข้สูงให้ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวทุก 4 ชั่วโมง หรือเมื่อมีอากาศตัวร้อน และใช้ยาลดไข้ประเภทพาราเซตามอล ทานทุก 4 ชั่วโมงเช่นกันก็จะช่วยลดไข้ได้ หากมีน้ำมูกไหลเริ่มจากน้ำมูกใสก็ต้องสั่งน้ำมูกออก ล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ เช้า-เย็น เพื่อทำความสะอาดและลดการสะสมของเชื้อไวรัสที่โพรงจมูกได้ ถ้าอาการรุนแรงขึ้น น้ำมูกมีสีเข้ม มีเสมหะ ไอ จาม ร่วมด้วย แนะนำให้ทานยาลดน้ำมูก ดื่มน้ำให้มาก นอนหลับให้ครบ 8 ชั่วโมง ก็จะช่วยให้หายดีได้โดยเร็ว             

การดูแลตัวเองเบื้องต้นของโรค “ไข้หวัด” ธรรมดาและไข้หวัดใหญ่นั้น สามารทำได้ด้วยตัวเองที่บ้าน หากสังเกตอาการของตัวเองแล้วว่ามีความรุนแรงและเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน แนะนำให้ทานยาต้านไวรัสประเภท โอลเซลทามิเวียร์ (oseltamivir) จะช่วยในต้านเชื้อไวรัสไม่ให้ลุกลาม และแพร่กระจายมากยิ่งขึ้น ในผู้ป่วยที่มีอาการหอบเหนื่อยมาก ผิดปกติ หรืออึดอัดบริเวณปอด หายใจติดขัด ปอดอักเสบหรือมีอาการที่รุนแรงอื่น ควรรีบพบแพทย์โดยด่วน เข้านอนรักษาตัวที่โรงพยาบาลเพื่อสังเกตอาการไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมาจะดีที่สุด