Uncategorized
อาการของโรค ไข้หวัด เป็นอย่างไร
อาการของโรค “ไข้หวัด” เป็นอย่างไร ?
หากพูดถึงเรื่องของการเจ็บป่วยแล้ว โรคที่เราเป็นบ่อยที่สุดมีอะไรบ้าง ตั้งแต่เด็กจนถึงตอนนี้มีโรคไหนที่เป็นอยู่ตลอดทุกปี แบบนี้คงนึกออกแล้วว่าโรคที่คนส่วนใหญ่เป็นมาตั้งแต่เด็กจนโตเลยก็คือ โรค “ไข้หวัด” นั่นเอง ซึ่งก็ถือว่าเป็นโรคที่อยู่คู่กับผู้คนมาอย่างยาวนาน แต่ไม่ใช้เพียงแค่คนเท่านั้นที่จะป่วยเป็นไข้หวัดได้ ในกลุ่มสัตว์ก็สามารถที่จะติดเชื้อไวรัสประเภทเดียวกันได้เช่นกัน และในกลุ่มของสัตว์นั้นก็มีความรุนแรงมากกว่ากลุ่มคนอีกด้วย
“ไข้หวัด” โดยทั่วไปคือการติดเชื้อไวรัสประเภท Rhinoviruses จากการสูดดมหรือรับเชื้อผ่านทางระบบทางเดินหายใจส่วนบนหรือ จมูกนั่นเอง โดยอาการก็จะมีความรุนแรงน้อย และหายได้เองภายใน 1-3 วัน ส่วนการติดเชื้อไวรัส “ไข้หวัด” ใหญ่นั้น สาเหตุมาจากเชื้อไวรัส influenza virus ติดเชื้อบริเวณระบบทางเดินหายใจอย่างเฉียบพลัน ซึ่งในผู้ป่วยที่เป็น “ไข้หวัด” ใหญ่นั้นก็จะมีอาการที่รุนแรงมากกว่าอย่างเห็นได้ชัด
กลุ่มของเชื้อไวรัส “ไข้หวัด” ที่มีความรุนแรงและแพร่ระบาดอยู่ตลอดหลากหลายพื้นที่ แบ่งได้ 2 ชนิดคือ influenza A และ B แต่ละสายพันธุ์ที่กลายออกไปนั้น มีความรุนแรงของอาการที่คล้ายกัน แต่จะไม่เหมือนกันที่การแพร่กระจายเชื้อไวรัสและการติดต่อของเชื้อ ในเชื้อไวรัสสายพันธุ์ A จะแพร่กระจายได้จากคนสู่คน สัตว์สู่คน รวดเร็วและระบาดอย่างหนักในหลายประเทศทั่วโลก เช่น ไข้หวัด H1N1 ที่มีการระบาดอย่างหนักและมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ไข้หวัดนกที่ติดต่อจากสัตว์สู่คนได้ ซึ่งโรคจากเชื้อไวรัสสายพันธุ์ A นั้นมีความน่ากลัวกว่าเชื้อไวรัสสายพันธุ์ B มากเลยทีเดียว
แต่อย่างไรก็ตามหากต้องสังเกตอาการว่าเมื่อป่วยเป็น “ไข้หวัด” แล้วจะต้องแยกให้ออกว่าคุณป่วยเป็นโรค“ไข้หวัด” ชนิดไหนกันแน่ ระหว่าง “ไข้หวัด” ธรรมดาและ “ไข้หวัด” ใหญ่ หรือหนักกว่าคือ “ไข้หวัด” ใหญ่สายพันธุ์พิเศษอื่นๆ โดยอาการของ “ไข้หวัด” ธรรมดาก็จะมีอาการที่คล้ายกับ “ไข้หวัด” ใหญ่พอสมควร แต่จะมีความแตกต่างกันที่ความรุนแรงของอาการที่แสดงแต่ละบุคคล มีไข้ คัดจมูก น้ำมูกไหล ไอจาม เป็นอาการเบื้องต้นที่เจอในโรค “ไข้หวัด” อยู่แล้ว แต่ความสำคัญที่ต้องรู้ว่าเราป่วยเป็น “ไข้หวัด” ชนิดไหน ก็เพื่อที่จะป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ หากป่วยเป็น “ไข้หวัด” ใหญ่ เพราะโดยทั่วไปอาการของ “ไข้หวัด” จะมีความรุนแรงและมีระยะเวลาพักรักษาตัวที่ยาวนานกว่า “ไข้หวัด” ธรรมดาอยู่แล้ว ยิ่งเชื้อไวรัสฝังตัวอยู่ในร่างกายนานเพียงใด ก็ยิ่งทำให้เชื้อไวรัสสามารถทำลายอวัยวะต่างๆ ได้ง่าย จึงทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมาและอันตรายมากขึ้นด้วย
อาการของไข้หวัดธรรมดา
มีอาการโดยทั่วไปจะเริ่มจากการปวดเนื้อ ปวดตัว อ่อนล้า อ่อนเพลียบ่อยครั้ง เริ่มครั่นเนื้อครั่นตัวและมีไข้อ่อนๆ ค่อยๆ ไล่ลำดับความรุนแรงของไข้สูงขึ้นเรื่อยๆ มีอาการไอ จาม คัดจมูก มีน้ำมูกใสปะปนในโพรงจมูก เจ็บคอ เสียงแหบ เริ่มไอ โดยอาการของ “ไข้หวัด” จะเริ่มแสดงเมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของไข้หวัดแล้วมีระยะแฝงตัวอยู่ในระบบทางเดินหายใจ 1-3 วันก็แสดงอาการออกมา
อาการของไข้หวัดใหญ่
ในผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัส “ไข้หวัด” ใหญ่นั้นจะมีอาการที่รุนแรงกว่าอย่างเห็นได้ชัด คือจะมีไข้สูงเฉียบพลัน ทันทีที่ติดเชื้อไวรัส ไข้อาจสูงถึง 37-39 องศาเซลเซียสหรือมากกว่านั้น มีโอกาสเสี่ยงที่จะช็อกได้ มีอาการปวดศีรษะ ปวดหนักมากหรือปวดในหูร่วมด้วย ปวดกล้ามเนื้อรุนแรง อ่อนเพลียมาก คัดจมูก หายใจไม่ออก เยื่อบุจมูกบวมแดง และมีน้ำมูกอุดตันภายในจมูก ในบางรายมีอาการระคายเคืองที่ดวงตา หรือมีตาแดงด้วย ในผู้ป่วย “ไข้หวัด” ใหญ่บางรายที่มีอาการรุนแรงจะสูญเสียการรับรู้รสชาติและกลิ่นร่วมด้วย หากเป็นเชื้อไวรัสสายพันธุ์พิเศษบางชนิดจะกระตุ้นอาการเหล่านี้ให้แสดงออกมาทำให้ “ไข้หวัด” ใหญ่มีอาการรุนแรงมากยิ่งขึ้น
การติดเชื้อ “ไข้หวัด” นั้นสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัยเริ่มตั้งแต่ช่วงวัยเด็ก 1-3 ขวบจะเป็นกลุ่มที่มีการติดเชื้อไวรัส“ไข้หวัด” มากที่สุดกลุ่มแรกเลยก็ว่าได้ เมื่อเด็กได้รับเชื้อไวรัส “ไข้หวัด” ความรุนแรงของอาการจะมีมากในช่วง 2-3 วันแรก และค่อยๆ เบาลงหากได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง หากเป็นในกลุ่มผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อไวรัส“ไข้หวัด” ส่วนใหญ่จะมีอาการยาวนานกว่า คือประมาณ 7 วันเลยก็เป็นได้ แต่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงมากอย่างกลุ่มผู้สูงอายุนั้น เมื่อติดเชื้อไวรัส “ไข้หวัด” จะเป็นกลุ่มที่ความอันตรายสูงที่สุด เพราะกลุ่มผู้สูงอายุจะมีโรคประจำตัวเช่น ความดัน เบาหวาน และด้วยช่วงวัยที่สภาพร่างกายไม่แข็งแรง หรือภูมิต้านทานไม่เท่ากับกลุ่มอื่นๆ ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ง่ายและอันตรายถึงชีวิตได้เลย
เมื่อรู้ว่าอาการของโรค “ไข้หวัด” เป็นอย่างไรแล้วก็ต้องลองสำรวจตัวเองดูว่า เมื่อพบอาการเหล่านี้กับตัวเองให้พึงเข้าใจว่ามีโอกาสที่จะติดเชื้อไวรัส “ไข้หวัด” อย่างแน่นอน หากมีอาการที่กล่าวมาข้างต้นให้รีบรักษาและดูแลตัวเองเบื้องต้นก่อนคือ การทานยา นอนพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำให้มาก และหากติดตามอาการแล้วไม่ดีขึ้นเป็นระยะนานกว่า 2 สัปดาห์แล้ว ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อปรึกษาและให้แพทย์ได้ดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะนั่นเป็นสัญญาณของการติดเชื้อไวรัส “ไข้หวัด” ใหญ่สายพันธุ์พิเศษและอันตรายเป็นอย่างมากอีกด้วย