Uncategorized
ภาวะอาการ Longcovid เป็นอย่างไร
ภาวะอาการ Longcovid เป็นอย่างไร
สำหรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด19นั้น ปัจจุบันยังสามารถที่จะหยุดยั้งการแพร่เชื้อได้ 100% ทำได้แต่เพียงป้องกันและรับมืออย่างยั่งยืน โดยผู้ป่วยบางรายที่เคยป่วยเป็นโควิดในสายพันธุ์แรกๆตอนนี้ก็อาจจะกลับมาป่วยในสายพันธุ์ใหม่ๆ ได้อีกครั้งโดยสายพันธุ์ของเชื้อไวรัสนั้น ได้มีการเติบโตและพัฒนาตัวเองให้แข็งแรงและแพร่กระจายได้กว้างขึ้นเรื่อยๆ แต่เชื้อไวรัสในช่วงหลังนี้จะมีความรุนแรงน้อยลงเนื่องมาจากคนส่วนใหญ่ได้รับวัคซีนป้องกันแล้วทำให้ภูมิต้านทานของร่างกายเพิ่มมากขึ้น สามารถที่จะต่อต้านกับเชื้อไวรัสได้
หากเคยติดเชื้อโควิด-19 ในช่วงก่อนหน้านี้สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญอีกอย่างก็คือ หลังหายจากการติดเชื้อโควิด-19 มีโอกาสที่ทุกคนจะต้องเจอกับอาการ Long COVID (ลองโควิด)ที่ทำให้ร่างกายไม่แข็งแรงเหมือนก่อนหน้าที่ยังไม่ติดเชื้อในผู้ป่วยบางรายอาจยังมีอาการป่วยเหมือนในขณะติดเชื้อโควิด
โดยเฉพาะความผิดปกติของปอด และหัวใจ ที่ทำงานได้ไม่ดีเหมือนก่อนทำให้ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตอย่างชัดเจน
“ Long COVID ” หรือ “ลองโควิด” คือ อาการทางร่างกายและทางจิตใจที่หลงเหลืออยู่หลังหายจากการติดเชื้อโควิด-19 อาจเป็นผลกระทบทางตรงจากร่องรอยของโรคหรือเป็นผลกระทบทางอ้อมที่มาจากช่วงที่เคยติดเชื้อโควิด โดยมีระยะเวลาประมาณ 3-6 เดือนหลังจากติดเชื้อโควิด โดยอาการอาจจะอยู่ยาวนานหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับการดูแลตัวเองและเข้าใจร่างกายของตัวเองว่ามีผลกระทบมาจากการป่วยของโรคโควิดก่อนหน้านี้ และรักษาอาการอย่างต่อเนื่องและระยะยาว
อาการของ Long COVID (ลองโควิด)
ที่พบบ่อยมีดังนี้
- อาการอ่อนเพลียเหนื่อยง่าย
- มีอาการหายใจถี่หรือหายใจไม่ทัน หอบเหนื่อย
- ใจสั่นรู้สึกแน่นหรืออึดอัดบริเวณหน้าอก
- ความจำสั้น สมาธิสั้น หรือรู้สึกสมองล้า
- มีไข้ไอ ปวดหัว เจ็บคอ
- มีการรับรสหรือได้กลิ่นน้อยลง
- ปวดตามข้อต่อ
- นอนไม่หลับหลับยาก
- เวียนศีรษะ
- ปวดท้องท้องเสีย ไม่อยากอาหาร
- มีผื่นขึ้นตามตัว
- อาจมีภาวะซึมเศร้าหรือวิตกกังวล
สาเหตุของภาวะ Long COVID (ลองโควิด) เมื่อติดเชื้อโควิดแล้วหายดีตรวจไม่พบเชื้อแล้ว ก็ไม่อาจจะนิ่งนอนใจได้เพราะเชื้อโควิดในร่างกายอาจทิ้งร่องรอยความเสียหายในอวัยวะส่วนต่างๆทำให้อวัยวะที่เกิดความเสียหายนั้นไม่สามารถทำงานได้ตามปกติหากเกิดความเสียหายที่บางส่วนของสมอง อาจเกิดภาวะสมองล้า (Brain Fog Syndrome) หรือหากมีความเสียหายที่ปอดก็จะทำให้เกิดความผิดปกติเวลาหายใจ เช่น หายใจไม่สะดวก หายใจถี่ เหนื่อยหอบง่ายเป็นต้น
ในคนที่เคยมีร่างกายแข็งแรงสุขภาพดี เมื่อติดเชื้อโควิดแล้วมีภาวะลองโควิด ทำให้อวัยวะต่างๆภายในร่างกายทำงานผิดปกติ กลายเป็นว่าเมื่อหายจากโควิด-19 แล้ว ภูมิคุ้มกันอาจหันมาทำลายเซลล์ในร่างกายของผู้ป่วยเองได้เพราะว่ายังหลงเหลือเชื้อไวรัสโควิด-19 ในร่างกายทำให้บางส่วนในร่างกายที่ถูกทำลายไปทำงานได้ไม่เต็มที่หรือทำงานไม่ปกติดังเดิม
ภาวะ Long COVID มีกี่ประเภท สังเกตอาการได้อย่างไร ?
ภาวะ Long COVID ถูกแบ่งเป็นทั้งหมด 3 ประเภท ซึ่งแบ่งแยกตามลักษณะอาการดังนี้
- ภาวะที่ผู้ป่วยมีอาการใหม่หรืออาการเดิมไม่หายไป (New or ongoing symptoms)
คือการที่ผู้ป่วยโรคโควิด-19 นั้นมีอาการยาวนานต่อเนื่องไปเป็นระยะเวลานานหลายเดือนโดยอาการเหล่านี้มักเกิดหลังจากติดเชื้อไวรัสเป็นครั้งแรกมักพบในคนไข้อาการรุนแรงตั้งแต่ต้น ไข้สูง ติดเชื้อรุนแรงซึ่งอาการของภาวะลองโควิดในผู้ป่วยประเภทนี้จะทวีคูณความรุนแรงมากยิ่งขึ้นเมื่อออกกำลังกายหรือใช้สมาธิจดจ่อมากๆโดยมีอาการ
- ไข้ ปวดหัว วิงเวียนศีรษะคล้ายจะเป็นลม
- หายใจเหนื่อย หายใจไม่อิ่ม ไอ แน่นหน้าอก อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
- ปวดท้อง ท้องเสีย รับประทานอาหารไม่ลง
- ปวดหูหรือมีเสียงในหู
- ใจสั่น ขาดสมาธิ หรือคิดอะไรไม่ออก หัวตื้อ นอนไม่หลับ อารมณ์แปรปรวน
- มีอาการชา ปวดกล้ามเนื้อและข้อ
- ไม่ได้กลิ่นหรือรับรสได้ไม่ดี
- ผื่นตามตัว
- รอบประจำเดือนมาผิดปกติ
- ภาวะที่ผู้ป่วยมีความผิดปกติในหลายอวัยวะ (Multiorgan effects)
คือการที่ผู้ป่วยนั้นมีอาการผิดปกติเกี่ยวเนื่องกับอวัยวะหลายส่วนในร่างกายโดยมีสาเหตุจากปฏิกิริยาทางสรีรวิทยาที่รุนแรงอย่าง cytokine storm ที่ร่างกายของผู้ป่วยโควิด-19 ไม่สามารถควบคุมการหลั่งสารในระบบภูมิคุ้มกันกลุ่ม cytokine ได้ส่งผลให้เนื้อเยื่อของอวัยวะหลายส่วนถูกทำลายโดยระบบภูมิคุ้มกันของตัวผู้ป่วยเองมักพบมากที่บริเวณเนื้อเยื่อหัวใจ ปอด ไต สมอง และผิวหนังทำให้อวัยวะบางส่วนกลับมาทำงานไม่สมบูรณ์
- ภาวะผิดปกติทางด้านจิตใจ
มักเกิดในกลุ่มผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีการนอนโรงพยาบาลโดยเฉพาะห้อง ICU ที่ส่งผลกระทบด้านจิตใจอาจทำให้แขนขาไม่ค่อยมีแรงและยังคงรู้สึกเหนื่อยล้า ในบางกรณีผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมากในช่วงที่ติดเชื้อและพักรักษาตัวนั้นมีการพูดคุยและรับการรักษาจากแพทย์ อาจมีผลต่อเรื่องการคิดและคำพูดนำไปสู่ภาวะที่มีอาการผิดปกติทางจิตใจหลังจากประสบเหตุการณ์รุนแรง (post-traumatic stress disorder; PTSD) เช่น การได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจหรือถูกปั๊มหัวใจในการช่วยชีวิตส่งผลให้เกิดความเครียดฉับพลันและอาจสะสมมาอย่างต่อเนื่องเกิดเป็นภาวะลองโควิดในระยะยาว ซึ่งภาวะเรื่องของจิตใจนั้น ต้องใช้เวลาในการฟื้นฟูอย่างยาวนานและต่อเนื่องถึงจะกลับมาหายดีได้เช่นเดิม